กล้ามเนื้อ เรื่องของกล้ามเนื้อที่หลายคนถามถึง
กล้ามเนื้อในร่างกายของเราจะมี2ชนิด คือ
ชนิดแรกเรียกง่ายว่ากล้ามเนื้อชนิดหดตัวช้า ชื่อตามภาษาอังกฤษมีหลายชื่อครับ ความหมายของมันก็เรียกตามระบบพลังงานที่มันชอบใช้คือ
Aerobic
Oxidative Fiber
Slow oxidative ( SO Fiber)
ลักษณะเพาะตัวของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้คือ สามารถใช้ออกซิเจนเข้าไปสลายพลังงานได้ดีมาก เนื่องจากเซลล์กล้ามเนื้อกลุ่มนี้จะมีโรงงานเล็กๆที่ชื่อMitochondriaอยู่เต็มไปหมดมาอยู่รวมกันเป็นนิคมอุตสาหกรรมกันเลย ซึ่งเจ้าโรงงานนี้ก็เป็นที่ทราบว่ามันเป็นโรงงานที่ผลิตสารพลังงานATPโดยเอาออกซิเจนเข้าไปสลายพลังงานจากแหล่งต่างๆ เมื่อใช้ออกซิเจนได้ดี ทำให้มันมีคุณสมบัติเฉพาะตัวคือค่อนข้าง อึด ทน ออกแรงได้นานแบบไปเรื่อยๆ ข้อเสียมีอย่างเดียวคือหดตัวได้ค่อนข้างช้า พวกนักกีฬาที่เด่นๆเรื่องความอึดจะมีอัตราส่วนของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ค่อนข้างมากกว่าคนอื่น
ชนิด2 กล้ามเนื้อชนิดหดตัวเร็ว กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ยังแบ่งออกเป็นสองกลุ่มย่อยคือ
2A , Fast Oxidative Glycolytic Fiber (FOG) จากชื่อพอจะเดาได้ กล้ามเนื้อเป็นกล้ามเนื้อที่มีลักษณะพิเศษคือมันสามารถใช้หรือไม่ใช้ออกซิเจนมาสลายเป็นพลังงานได้ เราสามารถฝึกให้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ ให้ชอบหรือเลือกระบบพลังงานอันใดอันหนึ่งก็ได้ แน่นอน สำหรับการขี่จักรยาน เราต้องฝึกให้กล้ามเนื้อกลุ่มนี้ ชอบที่จะใช้ระบบพลังงงานแบบแอโรบิคให้ได้ สิ่งที่จะตามมาก็คือ แม้ว่าจะเป็นการขี่จักรยานทีระดับหนักถึงหนักมาก ขบวนการเผาพลังงานของร่างกายก็ยังเป็นแอโรบิคอยู่ การฝึก Base training ระยะหลัง จะมาเน้นฝึกกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ ก่อนที่จะเข้าสู่การฝึกเข้มข้นต่อไป และเมื่อฝึกทั้งกล้ามเนื้อกลุ่มแรก กับกลุ่มนี้(2A)ดีๆแล้วเราสามารถขี่ระดับเกือบทุกความหนักตั้งแต่เบาๆจนถึงหนักมากได้โดยใช้พลังงานจากระบบแอโรบิคอย่างเดียว เหลือความหนักที่สุดไว้ให้กล้ามเนื้อกลุ่มสุดท้ายคือ 2B ทำงาน
กล้ามเนื้อกลุ่ม2Bกล้มเนื้อ กลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะตัวจริงๆคือ มันสามารถหดตัวได้อย่างรุนแรวละรวดเร็ว แต่เสียอย่างเดียว นกกระจอกไม่ทันกินน้ำ แป๊บเดียวจอด เนื่องจากมันไม่ต้องการออกซิเจนสำหรับการสลายพลังงาน บางคนเรียก Fast Glucolytic (FG Fiber) มันต้องการพลังงานสำหรับการหดตัวจากคาร์โบไฮเดรทเท่านั้น และ ใช้อย่างสุรุ่ยสุร่ายที่สุด
ในแต่และคนจะมีอัตราส่วนของกล้ามเนื้อ2กลุ่มนี้ไม่เท่ากันขึ้นกับว่าพ่อแม่, ปู่ย่า, ตายาย บรรพบุรุษของเราให้มาอย่างไร เมื่อเค้าให้เรามาอย่างนี้สิ่งที่เราพึงกระทำคือ เอาสิ่งที่ได้รับมานี้ มาพัฒนาให้ได้เต็มศักยภาพ โดยการฝึกฝนให้กล้ามเนื้อ ทุกกลุ่มทุกมัดที่เกี่ยวข้องกับการขี่จักรยาน ทำงานให้ได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุด พร้อมๆกับการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อนั้น ก็เติมเรื่องเทคนิค ,กลยุทธ์ต่างๆในการขี่หรือแข่งขัน , การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม ถึงเวลานั้นตัวเราเองจะรู้ดีที่สุดละครับว่าเราเหมาะกับการแข่งจักรยานประเภทไหนหรือสไตล์ไหน พวกSprinter ไม่ใช่ว่าจะเน้นฝึกที่กล้ามเนื้อหดตัวเร็วเป็นหลัก กล้ามเนื้อหดตัวช้าก็ต้องฝึกให้ได้เต็มความสามารถเสียก่อนจึงมาเติมเต็มส่วนที่เค้าเด่นอยู่ พวกLong ridingแน่นอนอยู่แล้ว เค้าถนัดและชอบที่จะซ้อมระยยแอโรบิคให้เด่นให้ดีเต็มที่ หลังจากนั้นก็ไปเสริมส่วนที่ขาดหรือเป็นจุดอ่อนของตนเช่นการขี่สปรินทร์แต่จะให้ดีเท่าพวกSprinterคงยาก การจะชนะในการแข่งขันได้นอกจากความพร้อมทางด้านร่างกายแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆเช่นวางแผน เทคนิค กลยุทธ์ โชคหรือดวง และหลายๆอีกที่เป็นองค์ประกอบครับ ซึ่งในบทหลังๆจะมีกล่าวถึงเรื่องเหล่านี้ด้วย
แลนส์ อารม์สตรองเองก็ไม่ได้มีพ่อหรือแม่ที่เป็นนักจักรยานชั้นยอดซักหน่อย แต่เค้าฝึกโดยมีแรงกระตุ้นแรงจูงใจที่ไม่เหมือนใคร จากเพื่อความอยู่รอด…จนในที่สุด เค้าพบว่าศักยภาพในตัวเองที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นการขี่เดี่ยวTime trialที่โดดเด่นหาใครเทียบยาก และการขี่ขึ้นเขา รอบขาจัดๆ เน้นแอโรบิคเป็นที่สุดนั้น เหมาะกับการเป็นแชมป์การขี่จักรยานทางไกล Tour De France เป็นที่สุด
มาทำความฝันเล็กๆของเราให้เป็นจริงกันไหม ใครมีความฝันอย่างไร มาบอกกล่าวกันบ้างก็ดีครับ
กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่ควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ เราสั่งการอะไรมันไม่ได้ เช่นกล้ามเนื้อของลำไส้ หัวใจ และอวัยวะต่างๆในช่องท้อง
ส่วนกล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อที่เราสั่งการมันได้ จะให้หดตัวเมื่อไหร่ อย่างไร มากน้อยแค่ไหนสั่งได้หมดครับ ในกล้ามเนื้อมัดเดียวกันก็จะมีกล้ามเนื้อทั้งสองผสมปนกันไป แต่อัตราส่วน ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อหดตัวช้า หดตัวเร็วแบบ1หรือ2 ในแต่ละคนไม่เท่ากันครับ จะให้รู้จริงๆต้องเจาะเอากล้ามเนื้อมาตรวจ(Muscle biopsy) ซึ่งค่อนข้างยุ่งยาก เจ็บ ค่าใช้จ่ายสูง ในนักจักรยานทั่วไป มือสมัครเล่นหรือแม้แต่ระดับอาชีพ เอาอย่างที่บอกดีกว่าครับ ซ้อมกล้ามเนื้อทุกกลุ่มให้เต็มที่เสียก่อน แข่งไปซักพัก แล้วตัวเราจะทราบเองครับว่าเราเหมาะที่จะเป็นนักขี่ประเภทไห
เมื่อได้รับการฝึก กล้ามเนื้อจะมีขนาดใหญ่ขึ้น การเพิ่มขนาดของกล้ามเนื้อเกิดจากการขยายขนาดของเซลล์กล้ามเนื้อมัดนั้นๆ แต่จำนวนเซลล์กล้ามเนื้อมัดนั้นเท่าเดิม เราเรียกลักษณะการใหญ่ขึ้นของมัดกล้ามเนื้อแบบนี้ว่า Hypertrophy
ตรงข้ามกับขยายขนาดของกล้ามเนื้อคือการฝ่อเล็กลงของมัดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อที่ไม่ค่อยได้ใช้นานๆ ,เมื่อเราอายุขัยเรามากขึ้น ก็คือขนาดของเซลล์กล้ามเนื้อมันฝ่อเล็กลง จำนวนเซลล์กล้ามเนื้อทั้งหมดก็ยังเท่าเดิม เราเรียกลักษณะของการฝ่อของกล้ามเนื้อนี้ว่า Atrophy
ความสามารถในการออกแรงกระทำต่อบันไดมากน้อยสำหรับการขี่จักรยานหรือพูดง่ายๆกล้ามเนื้อนั้นมีความแข็งแรงขนาดไหนนั้นเป็นองค์ประกอบ1ใน3ของbase trainingที่เรียกว่า Strength เราต้องฝึกสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อไปพร้อมๆกับการสร้างความทนทานในช่วงBase training ด้วยเช่นกัน
การวัดความแข็งรงของกล้ามเนื้อมี2แบบ คือ
1.Absolute คือการวัดกันตรงๆเลย ใครออกแรงกดลงบันไดได้เท่าไหร่ก็ว่ากันตามนั้น การขี่จักรยานบนทางราบไม่มีเรื่องน้ำหนักหรือแรงโน้มถ่วงของโลกมาเกี่ยวข้อง คนที่ออกแรงกระทำต่อบันไดได้มากกว่าก็จะไปได้เร็วกว่า พวกสปรินทร์เตอร์ จะมีกล้ามเนื้อค่อนข้างใหญ่ ขานี่ยังกะท่อนซุง จะตัวใหญ่หรือหนักกว่าแค่ไหนก็ไม่มีผลครับ ตัวใหญ่กว่าน้ำหนักมากกว่าออกแรงต่อบันไดได้มากกว่าจะไปได้ไวกว่าคนตัวเล็กน้ำหนักเบากว่าแต่ออกแรงต่อบันไดได้น้อยกว่า
2.Relative วัดแรงกระทำได้เท่าไหร่ เอามาหารด้วยน้ำหนักของคนนั้น คน2คน ออกแรงกระทำได้เท่ากัน แต่คนหนึ่งน้ำหนักเบากว่า เมื่อหารออกมาแล้ว คนที่น้ำหนักตัวน้อยกว่าจะมีแรงหรือstrength แบบrelative สูงกว่าซึ่งจะมีผลมากสำหรับการขี่ขึ้นเขา เพราะมีเรื่องของแรงโน้มถ่วงเข้ามาเกี่ยวข้อง ใครมีแรงต่อน้ำหนักนี้มากกว่าหรือตัวเบากว่าก็จะได้เปรียบกว่า มีแนวโน้วว่าจะขี่ขึ้นเขาได้ดีกว่า
ถึงตรงนี้หลายคนที่มีขนาดกล้ามเนื้อค่อนข้างใหญ่โตอยู่แล้ว เกิดนึกอยากเป็นนักไต่เขาเก่งๆกับเขาบ้าง คงนึกในใจว่า ลดขนาดกล้ามเนื้อลงซักหน่อยดีไหม เพราะกล้ามเนื้อนี่แหละตัวดีที่ทำให้น้ำหนักเราเพิ่มขึ้น ในปริมาตรที่เท่ากัน กล้ามเนื้อจะหนักกว่าไขมันตั้งเยอะ
คำตอบก็คือ ไม่ครับ เค้าพบว่าการขยายขนาดของกล้ามเนื้ออันเนื่องมาจากการฝึกนั้น ผลด้านบวกจากแรงหดตัวของกล้ามเนื้อที่ได้เพิ่มขึ้นนั้นมีมากกว่าผลลบจาก น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น
วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น